วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย
ข้อมูลทั่วไปของประเทศมาเลเซีย

แผนที่มาเลเซีย (MALAYSIA)
ภูมิประเทศ

  1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
  2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล
ภูมิอากาศ
ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วงอุณหภูมิที่สูงสุดอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ช่วงที่มีความแห้งแล้งที่สุด อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน

ชื่อ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองศูนย์กลางธุรกิจ อิโปห์ มาลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ เมืองท่า Port Klang และปีนัง ลักษณะการปกครอง ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข
ประชากร จำนวนประชากร ประมาณ 23.8 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม(58%) พุทธ (30%) ฮินดู (8%) คริสต์เตียน เต๋า และศาสนา ประจำเผ่าของชนเผ่าส่วนน้อยในประเทศ เช่น ศาสนาของกลุ่มชาวเงาะป่าซาไก เป็นต้น


ภาษา
 ภาษามาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่า ส่วนน้อยในประเทศ

สกุลเงิน
DSC03165

ใช้สกุลเงินริงกิต(RM) 1ริงกิต เท่ากับ 10บาท

สภาพเศรษฐกิจ

  กษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs) 
สินค้าเข้าสำคัญ 

 
ไม้แปรรูป เครื่องยนต์และอุปกรณ์ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เครื่องใช้ ไฟฟ้า สัตว์น้ำมีชีวิต ผัก ส่วนประกอบโครงรถและตัวถัง เครื่องจักรไฟฟ้าในการผลิต
และส่วนประกอบ ไม้หมอนหนุนรางรถไฟ ดอกไม้สด อาหาร อุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์พลาสติก หนังดิบและหนังฟอก


สินค้าออกสำคัญ

น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยางพาราไม้แปร
รูป สิ่งทอ ดีบุก แก๊สธรรมชาติ นำมันปาล์ม สัตว์น้ำมีชีวิต อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป
ผักสดผลไม้ ปลาป่น รถยนต์ ขนสัตว์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สายเคเบิ้ล อิฐ

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ


 เก็นติ้ง

เก็นติ้งไฮแลนด์  แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิต  ที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี  นครทีไม่เคยหลับไหล  มีสิ่งน่าสนใจมากมาย เครื่องเล่นกลางแจ้งท่ามกลางอากาศหนาว  ช๊อปปิ้งสุดมันส์  ด้วยสินค้าแบรนด์เนมหลากหลาย    คาสิโนที่เปิดตลอด  24 ชั่วโมง สวรรค์สำหรับนักเสี่ยงโชค  การเดินทางขึ้นไปสัมผัสความหนาวเย็นบนยอดเขาเกนติ้งโดยกระเช้า



ตึกแฝดปิโตรนัส

   ที่มีชื่อว่า Petronas มีความสูงถึง 452 เมตร หรือสูงกว่าตึกใบหยกบ้านเรา 148 เมตร ออกแบบโดยชาวอเมริกัน Cesar Pelli ก่อสร้างโดยบริษัทจากญี่ปุ่น และบริษัทเกาหลี รับผิดชอบกันคนละตึก และต่างก็ต้องแข่งขันกันด้วย เพราะหากใครสร้างเสร็จก่อนก็จะเป็นผู้สร้างสะพานเชื่อมตึกทั้งสองในชั้นที่ 42 ปรากฏว่าแรกๆเกาหลีสร้างได้เร็วมาก แต่หลังจากญี่ปุ่นตั้งหลักได้ก็แซงเกาหลีและเสร็จก่อนประมาณ 1 เดือน....ส่วนเจ้าของตึกมีชื่อว่า Kuala Lumpur City Center Holdings Sdn. Bhd. หากเข้าใจง่ายๆก็เหมือนเป็นรัฐวิสาหกิจในบ้านเรา ส่วนชื่อตึก ก็เป็นชื่อบริษัทน้ำมันของชาติมาเลเซียที่คนไทยเริ่มรู้จัก คล้ายกับ ปตท.ในบ้านเรา เมื่อก่อนเคยครองแชมป์ตึกสูงที่สุดในโลก แต่ปัจจุบันโดนตึก Taipei 101 แย่งตำแหน่งไปซะแล้ว ซึ่งมีความสูงถึง 509 เมตร ตึก Petronas กลายเป็นจุดขายของการท่องเที่ยวมาเลเซียที่ไกด์จะต้องจัดโปรแกรมให้มาเห็นด้วยตาพร้อมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

อนุเสาวรีย์แห่งชาติ (National Monument)
มัสยิดปุตราจายาหรือมัสยิดสีชมพู
  เป็นมัสยิดที่สำคัญในปุตราจายา ประเทศมาเลเซียมัสยิดเริ่มก่อสร้างเมื่อปี 1997 จนแล้วเสร็จอีก 2 ปีถัดมา ตั้งอยู่ข้างกับเพอร์ดานาปุตรา ซึ่งเป็นทำเนียบรัฐบาลของมาเลเซีย และมีทะเลสาบปุตราจายาที่สร้างโดยมนุษย์ ด้านหน้าของมัสยิดยังมีจตุรัสที่ประดับด้วยธงแต่ละรัฐของมาเลเซีย 


กัวลาลัมเปอร์ทาวเวอร์
   ตั้งอยู่บนยอดเขาบูกิตนานาส
เป็นหอคอยที่มีความสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากที่แคนาดา รัสเซีย และจีน มีความสูงถึง 421 เมตร โดยใช้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ และใช้ระบบสื่อสารไฮเทคต่างๆ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนหย่อมขนาดใหญ่มีต้นไม้ใหญ่อายุ 100 ปี มีชื่อว่า ต้นเจลลิตง ซึ่งทางการต้องใช้เงินถึง 4.3 ล้านบาท ในการเก็บรักษาต้นไม้ระหว่างการสร้างหอคอยแห่งนี้
                                
วัดจีนเทียนโหว (Then Hou Temple)
 
 วัดจีนเทียนโหว (Then Hou Temple)
ที่วัดจีนแห่งนี้ สร้างด้วยเงินทุนของชาวจีนในมาเลเซีย โดยรัฐบาลได้ให้เงินส่วนหนึ่งในการสร้าง และ วัดเทียนโหว ได้รับการย่งย่องว่าเป็นวัดจีนที่สวยสะดุดตา ยิ่งใหญ่ อีกแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในบริเวณแขวนโคมไฟจีนสีแดงเป็นจำนวนมาก ดูแล้วสวยงามแปลกตา ในวิหารมี เจ้าแม่กวนอิมองค์ ใหญ่โดดเด่น สีทองอร่มทั้งองค์ ยิ่งสร้างความศัทธาเลื่อมใสมากยิ่งขึ้น

ธีมปาร์ค (Theme Park)


    สวนสนุก ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จะมีธีมปาร์คขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง คือ ที่ The Mines Resort City - Seven Wonder of Malaysia หรือที่เรียกว่า Mines Wonderlands สถานที่ตั้งธีมปาร์คแห่งนี้ เป็นเหมืองเแร่ดีบุกเก่าซึ่งต่อมากลุ่มพัฒนาบ้านจัดสรร ได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้นมาให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มีขื่อเสียงติดอันดับในมาเลเซีย สวนแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยการถมเหมืองด้วยน้ำ เพื่อให้เป็นทะเลสาบขนาดใหญ่และมีความลึกถึง 720 ฟุต เป็นทะเลสาบจำลองที่มีความลึกที่สุดในโลก และร่วมกันสร้างสถานที่ต่างๆ ขึ้นรอบทะเลสาบ อาทิ ห้างสรรพสินค้า หรือที่มีชื่อว่า เดอะ มายน์ส ช้อปปิ้ง แฟร์ มอลล์ ซึ่งสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมผสมระหว่างมาเลย์และเมดิเตอร์เรเนียนที่ทันสมัย ที่นี่จัดเป็นห้าสรรพสินค้าแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่สามารถนั่งเรืออกไปช็อปปิ้งได้ เพราะมีท่าเทียบเรืออยู่กลางห้าง หรือจะนั่งเรือออกไปล่องทะเลสาบ โดยไปขึ้นลงลิฟท์น้ำที่จัดไว้ให้ภายในก็ได้ นอกจากนี้ภายในธีมปาร์คยังมีสนามกอล์ฟ สวนสัตว์ และโรงแรมด้วย
พระราชวังอิสตาน่า
 
พระราชวังอิสตาน่าเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ของมาเลเซีย หน้าพระราชวังจะมีธงสีเหลืองแสดงว่ากษัตริย์ทรงประทับอยู่ หน้าวังจะมีทหารมหาดเล็กหรือทหารม้า มาคอยยืนสังเกตการอยู่ทางประตูทางเข้ายืนนิ่งมาก

การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก
ทางถนน  ในมาเลเซียตะวันตกมีถนนที่เป็นเส้นทางหลักสำคัญได้แก่                    
 เส้นทางจากบูกิต - กายู ฮิตัน - อลอร์สตาร์ - ปัตเตอร์เวอร์ธ - ปอร์ตกลัง ระยะทางประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร                    
เส้นทางจากโกตาบารู - กัลลาตรังกานู - กวนตัน - ยะโฮร์บารู ระยะทางประมาณ ๖๙๐ กิโลเมตร                    
เส้นทางจากปาเซร์เต๊ะห์ - มาจัง - กริก ระยะทางประมาณ ๑๒๐กิโลเมตร                    
เส้นทางจากอิโปห์ - กัลลาสลังงอร์ - ปอร์ตกลัง - มะละกา - ยะโฮร์ ระยะทางประมาณ ๖๐๐ กิโลเมตร                    
เส้นทางจากปัตเตอร์เวอร์ธ - ปีนัง - ระยะทางประมาณ๒๐กิโลเมตร                    
เส้นทางจากปาดังเบซาร์ - อลอร์สตาร์ ระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร                    
เส้นทางจากโกตาบูลู - เบนโวง ระยะทางประมาณ ๕๗๐ กิโลเมตร                    
เส้นทางจากเตอมอร์โละห์ - เกมัส ระยะทางประมาณ ๑๓๐ กิโลเมตร                

ระบบทางด่วน  แบ่งเป็นสองเส้นทางหลักคือ เส้นทางด่วนสายเหนือ - ใต้ และสายตะวันออก - ตะวันตก                    
เส้นทางสายเหนือ - ใต้  มีระยะทางประมาณ ๘๘๐ กิโลเมตร เริ่มจากบูกิตกายูหิตัม ผ่านจีรากุรุน บัตเตอร์เวอร์ธ จักกัตเยอร์อิโปห์ ตัมยุงมาลิน กัวลาลัมเปอร์ เซเรมปัน อาเยอร์ฮิตัม เชอไน ยะโฮร์บารู                    
เส้นทางสายตะวันออก - ตะวันตก  มีระยะทางประมาณ ๑๓๕ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองกริก รัฐเปรัค เยอลี รัฐกลันตัน                


ทางรถไฟ  ก่อตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๘ โดยรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการต่อมาแปรรูปเป็นรูปบริษัท เป็นทางรถไฟกว้าง ๑.๐๐ เมตร เท่ากับของประเทศ
ไทย มีความยาวประมาณ ๒,๓๖๐ กิโลเมตร และเป็นทางรถไฟฟ้าขนาดมาตรฐาน รางกว้าง ๑,๔๓๕ เมตร ความยาวประมาณ ๖๐ กิโลเมตร                

เส้นทางรถไฟสายหลักประกอบด้วย

เส้นทางด้านตะวันตก จากปาดังเบซาร์ ชายแดนเหนือไปถึงชายแดนทางใต้ติดต่อกับสิงคโปร์ รวมระยะทางประมาณ ๙๓๐ กิโลเมตร

เส้นทางสายตะวันออก จากตุนปัด ถึงเกมัส ความยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร เส้นทางที่เหลือเป็นทางแยกสายต่าง ๆ รวมหกสายทาง เป็นระยะทางสั้น ๆ ขบวนรถไฟของมาเลเซีย สามารถเชื่อมติดต่อกับทางรถไฟของไทย และสิงคโปร์


 ระบบขนส่งทางน้ำ                


ทางลำน้ำ ในแผ่นดินมาเลเซียตะวันตกบนแหลมมลายู มีการเดินเรือในลำน้ำน้อย เนื่องจากมีแต่ลำน้ำสายสั้น ๆ ตื้นเขิน และกระแสน้ำเชี่ยว ใช้ได้เฉพาะเรือเล็ก                
ทางทะเลตะวันตก  เส้นทางเดินเรือสายสำคัญ ส่วนมากผ่านช่องแคบมะละกา และเข้าเทียบเรือทางท่าเทียบเรือตะวันตก ท่าเรือที่สำคัญได้แก่                    
ท่าเรือปีนัง  มีท่าเรือน้ำลึก และท่าเทียบเรือน้ำตื้น ลักษณะของท่าเป็นแนวตรงทิศเหนือ - ใต้ เทียบเรือด้านเดียว มีโรงเก็บสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับดี                    
ท่าเรือกันลัก  อยู่เหนือเมืองบัตเตอร์เวอร์ธ                    
ท่าเรือปอร์ตเวตมัน  ต่อมาได้รวมกับท่าเรือปอร์ตกลัง                    
ท่าเรือปอร์ตกลัง  เป็นท่าเรือที่สร้างขึ้นแทนท่าเรือปอร์ตเวตมัน อยู่ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สร้างยื่นออกไปในทะเลยาวขนานกับฝั่ง สามารถเทียบเรือเดินทะเลขนาด ๘,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ ตัน ได้พร้อมกัน ๗ - ๘ ลำ นับเป็นท่าเทียบเรือที่สำคัญที่สุดของมาเลเซีย  
      ท่าเรือใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย อยู่ที่ตันหยงเปอร์ฮาซา เป็นท่าเรือที่ออกแบบ เพื่อการขนถ่ายปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยเฉพาะ ท่าเรือขนาดเล็ก คือ ท่าเรือปอร์ตดิกสัน ท่าเรือมะละกา ท่าเรือยะโฮร์บารู และท่าเรือกวนตัน

ระบบขนส่งทางอากาศ

สนามบินนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
สกายแทรกซ์ เผยรายชื่อ “สนามบินดีที่สุดในโลก” ประจำปีี 2010 หลังทำการสำรวจนักท่องเที่ยว จำนวน 9.8 ล้านคน จาก 100 ประเทศ ครอบคลุมกว่า 210 สนามบินทั่วโลกสนามบินกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย จัดเป็นสนามบินที่ดีที่สุดอันดับ 5 ของโลก  

อันดับ 5 สนามบินกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
 
มาเลเซียเป็นประเทศที่มีสนามบินนานาชาติอยู่ถึง 5 แห่งด้วยกัน คือ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ปีนัง ลังกาวี โกตาคินาบาลู และ กูชิง ส่วนสนามบินภายในประเทศ มีอยู่ 14 แห่ง ทั่วประเทศ

โลจิสติกส์มาเลเชียปี 54 มาแรง เติบโตขึ้น 11.5%

 
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มาเลเชียคาดว่าจะโตเพิ่มขึ้น 11.5% คิดเป็นมูลค่า 121 พันล้าน RM ในปี 2554 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว108.5 พันล้าน RM    

 ทั้งนี้ได้เป็นผลมาจากการค้าภายในที่แข็งแกร่งและเศรษฐกิจมั่นคง
Mr. Gopal R รองประธานฝ่ายการขนส่งและโลจิสติสก์ภาคพื้นแปซิฟิกและหัวหน้าประจำประเทศมาเลเชียแห่ง Frost & Sullivan กล่าวว่า การค้าในประเทศมาเลเชียคาดว่าจะเพิ่ม 10% ต่อปี หรือเป็นจำนวน 1.28 แสนล้าน RM เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่คิดเป็นตัวเลข 1.16 แสนล้าน RM

เขากล่าวว่า โครงการภายใต้ 10th Malaysian Plan and Economic Transformation Program (ETP) มีการลงทุนจำนวนมากและการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โครงการเหล่านี้คาดว่าจะสร้างตลาดให้กับโลจิสติกส์ภายในประเทศ รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีแนวโน้มการลงทุนไปยังภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทริกส์ น้ำมันและก๊าซ การดูแลสุขภาพและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์

ในปี 2553 ตลาด 3PLs (การขนส่ง การเก็บ และการบริการส่งต่อ) มีมูลค่า 27.5 พันล้าน RM ในขณะที่ต้นทุนและรายจ่ายสำหรับโลจิสติกส์ภายใน (in-house logistics) ที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจของมาเลเชีย ได้แก่ การผลิต การทำเหมือง การเกษตร โทรคมนาคม การก่อสร้าง พลังงาน การเงิน การค้าและการบริการรัฐบาล ซึ่งมีมูลค่ารวม 81 พันล้าน RM

 การที่รัฐบาลมาเลเชียได้เริ่มลงทุนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมจะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในส่วนย่อยต่างๆ เช่น การส่งต่อสินค้านำเข้า-ส่งออก การขนส่งทางเรือ การขนส่งทางอากาศ

อย่างไรก็ตาม เขาให้คำแนะนำว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของมาเลเชียอาจจะหยุดชะงักได้โดยการขาดทักษะความรู้เรื่องโลจิสติกส์ ลักษณะของอุตสาหกรรมที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ และการขาดการใส่ใจในเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการบริการ

 Mr. Gopal คาดการณ์ว่า ปริมาณของคาร์โกในปี 2554 จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.4% หรือคิดเป็นจำนวน 498.4 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2553 มีจำนวน 443.4ล้านตัน การขนส่งทางเรือเป็นช่องทางการขนส่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและมีการขนส่งปริมาณมากกว่า 95% จากจำนวนการขนส่งโดยรวมในปี 2553

ทั้งนี้ปริมาณการขนส่งทางเรือคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 12.5% หรือคิดเป็นจำนวน 493.7 ล้านตันในปี 2554 ท่าเรือ Klang ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งมากที่สุด มีการขนส่งทางเรือคิดเป็น 37.8% ของปริมาณการขนส่งทางเรือทั้งหมดในปี 2553 ในขณะที่ท่าเรือ Tanjung Pelepas มีการขนส่งเพียง 22%

สำหรับการขนส่งทางอากาศคาดว่าจะเติบโตขึ้น 12% หรือคิดเป็น 1.03 ล้านตันในปี 2554 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วมีการขนส่งจำนวน 918,100 ตัน ท่าอากาศยาน Kuala Lumpur International Airport ทำการขนส่งไป 73% จากการขนส่งภายในประเทศทั้งหมด ในขณะที่การขนส่งทางรถไฟคาดว่าจะเติบโตขึ้น 3.7% หรือคิดเป็นจำนวน 5.5 ล้านตันในปี 2554 เขากล่าวต่อไปว่า กิจกรรมเอาท์ซอร์สที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในมาเลเชียเช่น การขนส่ง และคลังสินค้า

นอกจากนี้การบริการมูลค่าเพิ่ม เช่น การแพ็ค การติดป้าย โลจิสติกส์เที่ยวกลับ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ และการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้เป็นกิจกรรมของโลจิสติกส์ 10 อันดับแรกในมาเลเชียในปี 2553 Mr. Gopal กล่าวว่าในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เน้นไปทางด้านคลังสินค้า บาร์โค้ด และระบบการจัดการการขนส่ง การพัฒนาเครื่องมือ เช่น RFID ระบบการจัดการป้ายสินค้า GPS หรือระบบติดตามพาหนะยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นโดยเฉลี่ยมีการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 35%

ตามรายงานของ Frost & Sullivan ที่จัดทำในปี 2553 ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์กระบวนการสุดท้ายในอุตสาหกรรม FMCG ยานยนต์ การค้าปลีก เภสัชกรรม สินค้าบริโภค และอิเล็กทรอนิกส์ไฮเทค เหล่านี้มีแผนที่จะเพิ่มการใช้เทคโนโลยีโดยเฉพาะ RFID หรือการจัดการป้ายสินค้า ระบบบาร์โค้ด และ GPS หรือระบบการติดตามพาหนะในอนาคตอันใกล้นี้

ในส่วน 3PLs ที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในมาเลเชียจะต้องนำเสนอการจัดการโลจิสติกส์ที่หลากหลาย มีโครงสร้างการจัดการอย่างมีแบบแผนและราคาที่แข่งขันได้ จากการสำรวจผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ในกระบวนการสุดท้ายพบว่าสาเหตุที่ผู้ใช้งานต้องการใช้บริการโลจิสติกส์มากกว่าหนึ่งรายหรือต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพราะผู้ให้บริการมีการให้บริการที่จำกัด มีการเพิ่มราคา และมีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์มองหาการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มโดยต้องการสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์

ผู้ใช้บริการให้คุณค่ากับความยืดหยุ่นและการเพิ่มมูลค่าการบริการโดยไม่เพิ่มราคาและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการที่จัดทำโดยเฉพาะ ดังนั้นผู้ให้บริการโลจิสติกส์จึงต้องเพิ่มขอบข่ายการให้บริการและเน้นเรื่องคุณภาพเพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

กรีนโลจิสติกส์และการพัฒนาโลจิสติกส์ฮาลาลจะช่วยให้มาเลเชียเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาค ระบบการรับรองฮาลาลที่มีคุณภาพในมาเลเชียจะช่วยให้ประเทศได้เปรียบในการพัฒนาและกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ฮาลาลได้ในภูมิภาค มาเลเชียมีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น พื้นที่ประกอบการเฉพาะโลจิสติกส์ฮาลาล คลังสินค้าที่ท่าเรือฮาลาล สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะสร้างความเติบโตให้กับภาคโลจิสติกส์ฮาลาลในอนาคตได้

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในมาเลเชียยังได้สร้างคลังสินค้าสีเขียวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การนำพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การหมุนเวียนอากาศขั้นสูงเพื่อรักษาอุณหภูมิในคลังสินค้า และระบบการเก็บฝนเพื่อมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การขนส่งสินค้ารักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานที่ไม่มีวันหมด เช่น แผงพลังงานแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้นทันทีเมื่อมีแผนในรายการภาษีศุลกากรอย่างจริงจัง

Mr. Gopal คาดว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเนื่องจากลักษณะของธุรกิจขณะนี้แบ่งเป็นรายย่อย ผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มส่วนแบ่งตลาดโดยการรวมธุรกิจ ซึ่งธุรกิจโลจิสติกส์รายย่อยๆ และสงครามด้านราคาจะนำไปสู่ความไม่แน่นอนของคุณภาพการบริการโลจิสติกส์ในมาเลเชีย  

1 ความคิดเห็น: